วิธีการผลิตฮอโลแกรม
ฮอโลแกรมคืออะไร
ฮอโลแกรมหนึ่งคือภาพสามมิติที่ถูกสร้างขึ้นมาโดยโครงสร้างที่เกิดจากการหักเหของแส้งจากวัสดุที่มีขนาดเล็กมาก
ฮอโลแกรมประกอบด้วยภาพสองภาพหรือมากกว่าซึ่งถูกวางเป็นชั้นให้แต่ละภาพถูกมองเห็นตามมุมของผู้มอง
รูปภาพอาจจะสร้างขึ้นเป็นสองชั้นซึ่งจะประกอบด้วยชั้นพื้นหลัง(Background layer)และชั้นพื้นหน้า(Foreground layer)หนึ่งด้วยเหมือนกัน รูปภาพที่เป็นตัวเลือกอาจจะทำขึ้นเป็นสามชั้น คือ ชั้นพื้นหลัง ชั้นตรงกลาง และ ชั้นพื้นหน้า
กับฮอโลแกรมสองชั้นนั้นเนื้อหาสำคัญของพื้นตรงกลางโดยปกติถูกซ้อนทับเหนือเนื้อหาสำคัญของชั้นพื้นหลัง วิธีนี้ทำให้มีหลายชั้นที่เป็นเอกลักษณ์ และแสดงผลได้หลายสี
ภาพ 1 – ตัวอย่างฮอโลกราฟิคของหน้าในสต็อก
การประดับตกแต่งฉลากสินค้าด้วยฮอโลกราฟิคค่อนข้างจะเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ต่ออุตสาหกรรมฉลากสินค้าและในตอนนี้ถูกใช้อย่างกว้างขวางในภาพกราฟฟิคฉลากสินค้า(ภาพ 1) การประดับตกแต่งฮอโลกราฟิคประกอบด้วยภาพสองหรือสามมิติซึ่งเปลี่ยนตำแหน่งของมันเมื่อคนที่กำลังมองภาพเคลื่อนที่
ชนิดของจินตนาการนี้สามารถสร้างช่วงกว้างของฟอยล์ฮอโลกราฟิคได้ซึ่งทำให้ได้รูปแบบการหักเหที่ยอดเยี่ยม ภาพนิรภัย 3D และคุณลักษณะต่อต้านการปลอมแปลง(ภาพ 2) และเพราะเหตุว่ามันเป็นเรื่องที่ยากสุดๆที่จะทำการลอกเลียนแบบฮอโลแกรมหนึ่งได้ มันจึงถูกใช้ในฉลากสินค้าที่ต้องการความปลอดภัยสูงอยู่เสมอ
การผลิตภาพฮอโลกราฟิค (MANUFACTURING THE HOLOGRAPHIC IMAGE)
ฮอโลแกรมเป็นรูปภาพโฟโตกราฟิคสองและสามมิติซึ่งมองเห็นมีความลึก ภาพฮอโลกราฟิคนั้นถูกสร้างขึ้นโดยการซ้อนทับรูปสองมิติหนึ่งของวัตถุเดียวกันแต่ถูกมองจากมุมที่แตกต่างกัน ชนิดของฮอโลแกรมรู้จัดกันในชื่อว่า “ฮอโลแกรมสะท้อนแสง” (reflection hologram) สามารถถูกมองได้ในแสงสว่างปกติ
เทคโนโลยีที่ถูกใช้ผลิตฮอโลแกรมหนึ่งเป็นเรื่องซับซ้อนและในตอนต่อไปนี้ซึ่ งเกี่ยวข้องกับกระบวนการผลิตได้ถูกทำให้ง่ายลงเพื่อหลีกเลี่ยงศัพท์เทคนิคยากๆ แต่ละขั้นตอนเน้นที่การผลิตของรูปภาพฮอโลกราฟิคสามมิติ
ภาพ 2 – ตัวอย่างของวัตถุฮอโลกราฟิคที่ถูกใช้เป็นเครื่องตกแต่งในการพิมพ์ฉลากและการพิมพ์บรรจุภัณฑ์
การสร้างรูปภาพ(IMAGING)
การสร้างภาพฮอโลกราฟิคทำได้โดยใช้แสงเลเซอร์สองตำแหน่งยิงลงมาบนแผ่นไวแสง(photo-resist plate)โดยแสงทั้งสองทำปฏิกิริยากับสารเคลือบที่ไวต่อแสงเพื่อที่จะบันทึกเป็นภาพฮอโลกราฟิคของวัตถุเอาไว้ (ดูภาพ 3)
โดยมีส่วนสำคัญก็คือว่าต้องไม่มีการเคลื่อนไหวใดๆของวัตถุไวแสงในระหว่างกระบวนการนี้ ไม่เช่นนั้นมันจะทำให้เกิดภาพที่ไม่ตรงโฟกัสขึ้น
แผ่นไวแสงที่ถูกสร้างภาพแล้วนั้น ในตอนนี้มีภาพฮอโลกราฟิคต้นฉบับ(master)อยู่ และจากนั้นก็ถูกดำเนินการโดยใช้น้ำยาดีเวลลอปโฟโตแกรฟฟิค(photographic developing solution) หลังจากที่ทำการดีเวลลอปผิวหน้าของแผ่นโลหะแล้ว มันจะดูคล้ายกับผิวหน้าของแผ่นเสียงที่มีภาพที่ทำด้วยร่องเล็กมากๆ
ภาพ 3 – การส่องสว่างและการถ่ายโอนรูปภาพ
เคลือบโลหะโดยกระบวนการอิเล็คโตรไลซิส(ELECTROPLATING)
ขั้นตอนต่อไปในการผลิตฮอโลแกรมคือกระบวนการเคลือบแผ่นโลหะด้วยกระบวนการอิเล็คโตรไลซิส สิ่งนี้ทำให้แผ่นโลหะต้นแบบมีผิวหน้าทนทานมากยิ่งขึ้น เพื่อทำให้มีความสามารถในการนำไฟฟ้าได้ดี แผ่นต้นแบบถูกพ่นด้วยสีเงินและจากนั้นถูกจุ่มในถังนิคเกิ้ล เมื่อกระแสไฟฟ้าผ่านตัวถังและนิคเกิ้ลบางๆ ก็จะถูกเคลือบลงบนแผ่นโลหะต้นแบบ
จากนั้นแผ่นโลหะจะถูกล้างและการเคลือบนิเกิ้ลบางๆ จะถูกเอาออกจากแผ่นโลหะต้นแบบ แผ่นนิเกิ้ลบางๆนี้ถูกเรียกว่า ‘master – shim’ และ มีภาพ ‘negative’ ของวัตถุต้นฉบับอยู่โดยการประยุกต์ใช้กระบวนการเดียวกันของการเคลือบนิเกิ้ลโดยใช้ ‘master – shim’ แผ่นชิมที่ถูกทำเป็นภาพ ‘positive’ ก็สามารถถูกผลิตขึ้นได้ ในทางกลับกัน แผ่นชิม’negative’ ซึ่งต่อจากนั้นถูกแปลงไปเป็นแผ่นชิมตัวปั๊มซึ่งถูกใช้เพื่อ พิมพ์/ดันนูน ฮอโลแกรม
กระบวนการดันนูน(THE EMBOSSING PROCESS)
ฟิล์มโพลีเอสเตอร์พร้อมเคลือบอะคริลิคถูกใช้เป็นนำพาสำหรับภาพฮอโลกราฟิค ‘master – shim’ ถุกวางตำแหน่งอยู่ในแม่พิมพ์ดันนูนและด้วยการใช้แรงดันร่วมกับความร้อน ภาพจากแผ่นชิมก็ผลิตฮอโลแกรมในฟิล์มโพลีเอสเตอร์ออกมาได้
การทำผิวโลหะและการทำให้มันเงา(METALIZING AND FINISHING)
การทำผิวโลหะนั้นหมายถึงการเคลือบฟิวหน้าฟิล์มโพลีเอสเตอร์ที่ถูกดันนูนด้วยการเคลือบโลหะที่มีการสะท้อนแสงสูงมาก
ม้วนของฟิล์มที่ถูกดันนูนถูกวางเอาไว้ในห้องสูญญากาศหนึ่งและอากาศที่อยู่ภายในถูกเอาออกไป มีลวดอลูมินัมเส้นหนึ่งถูกวางเอาไว้ในห้องนี้และเส้นลวดดังกล่าวถูกทำให้ร้อนถึง 1100 องศาเซลเซียส ซึ่งทำให้เส้นลวดอลูมินัมระเหยเป็นไอซึ่งกลับไปเคลือบผิวหน้าของโพลีเอสเตอร์ด้วยอนุภาคของอลูมินัม ฟิล์มที่ถูกเคลือบถูกนำออกจากห้องสูญญากาศและทำการเคลือบด้วยแลคเกอร์ไปที่ฟิล์มซึ่งอนุญาตให้ภาพหรือรูปแบบฮอโลกราฟิคถูกซ้อนทับได้ถ้าต้องการ ฟิล์มฮอโลกราฟิคจ่ายให้กับวัสดุที่มีกาวในตัวโดยใช้วิธีพิมพ์ฟอยล์ด้วยความร้อน หรืออีกทางเลือกหนึ่งก็คือทากาวที่ไวต่อแรงกดลงด้านหลังของฮอโลแกรมซึ่งในทางกลับกันสามารถถูกถ่ายทอดให้แก่ฉลากที่มีกาวในตัวอีกทีหนึ่ง
จะเห็นได้ว่ากระบวนการผลิตโอโลแกรมนั้นมีความซับซ้อน
การจะผลิตได้นั้นต้องมีเครื่องไม้เครื่องมือเฉพาะอย่างและความรู้ความชำนาญที่ดีเยี่ยม
จึงจะผลิตขึ้นมาได้ เป็นเห็นให้โรงพิมพ์ทั่วไปไม่สามารถผลิตได้เอง
ต้องจ้างผู้ผลิตที่ทำการผลิตขึ้นมาโดยเฉพาะ