• 039 312 654
  • 086 302 3383, 095 956 3287
  • tonchabubprint@hotmail.com, tonchabubprint@yahoo.com
  • โรงพิมพ์ ต้นฉบับ บริการงานพิมพ์ทุกชนิด ด้วยระบบออฟเซ็ท 4 สี
    Line Tonchabub
    ISO

การเตรียมไฟล์งาน

เรียนรู้วิธีการเตรียมไฟล์งานกราฟฟิกให้พร้อมสำหรับทำการพิมพ์และการอัพโหลดงาน

การเตรียมไฟล์งาน

เมื่อท่านวางคำสั่งซื้องานพิมพ์ครั้งถัดไปกับ tonchabub.co.th เมื่อท่านเริ่มกระบวนการออกแบบด้วยเทมเพลตเฉพาะของโปรแกรมของเราซึ่งมีให้ ใช้กับผลิตภัณฑ์ของ tonchabub.co.th เท่านั้น เทมเพลตต่างๆเหล่านี้คือไฟล์ต่างๆซึ่งรวมทั้งแนวเส้นที่ระบุเอาไว้ก่อนซึ่ง บ่งชี้ถึง bleed(ส่วนที่ซึมออกนอกแนวตัด), แนวตัดเจียน, และรายละเอียดข้อกำหนดที่ปลอดภัย เทมเพลตเหล่านี้สามารถใช้ได้กับ Photoshop, Illustrator, InDesign, Publisher, CorelDraw และ Freehand เมื่อใช้เทมเพลตของเราแล้วจะช่วยให้ไม่มีปัญหาเกี่ยวกับการทำงานก่อนพิมพ์ และทำให้งานพิมพ์ของท่านเสร็จตามกำหนด 

แต่ไม่ว่าท่านใช้เทมเพลตแนวทางของเราหรือท่านทำการออกแบบอาร์ตเวิร์คของท่าน โดยไม่ได้ใช้เทมเพลตก็ตาม เราก็ต้องการให้ประสบการณ์ซื้อสิ่งพิมพ์ของท่านกับอ tonchabub.co.th นั้นสะดวกที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ด้วยความรู้สึกเช่นนั้น เราจึงจัดทำรายการตรวจดูซึ่งประกอบด้วยสิ่งที่ความพร้อมทางการพิมพ์จำเป็น ต้องส่งไฟล์กราฟฟิกต่างๆ เราขอแนะนำอย่างจริงจังว่าให้ท่านทบทวนรายการตรวจดูนี้เพื่อให้แน่ใจได้ว่า ไฟล์กราฟฟิกของท่านตรงกับความต้องการความพร้อมในการพิมพ์ ก่อนทำการวางคำสั่งซื้อและทำการอัพโหลดไฟล์ต่างๆของท่าน ลูกค้าท่านที่ส่งไฟล์ต่างๆที่ไม่ผ่านความต้องการความพร้อมในการพิมพ์ของเรา จะถูกแจ้งให้ทราบว่าไฟล์เหล่านั้นสามารถถูกปรับแต่งและส่งใหม่ให้เราตาม ลำดับเพื่อจัดเตรียมทำปรู๊ฟพร้อมพิมพ์ ซึ่งท่านสามารถตรวจดูและทำการยืนยันได้ 

สี
เราต้องการให้ทุกไฟล์กราฟฟิกนั้นถูกสร้างขึ้นโดยใช้ CMYK เพื่อให้ได้สีที่เที่ยงตรงก่อนที่จะถูกอัพโหลด ไฟล์ต่างๆที่ถูกส่งใน RGB หรือโดยใช้สี PMS จะต้องถูกแปลงเป็น CMYK ซึ่งอาจทำให้สีเพี้ยนไปบ้างในผลิตภัณฑ์ที่ผลิตออกมา 

ขนาดไฟล์
ไฟล์ของท่านจะต้องสร้างให้เท่าขนาดตัดเจียนบวกด้วย bleed(ส่วนที่ซึมออกไป) ซึ่งหมายถึงว่าไฟล์ต่างๆของท่านจะต้องมีขนาด ใหญ่กว่าขนาดของผลิตภัณฑ์ที่ท่านสั่งซื้อ 0.25 นิ้ว ( ตัวอย่างเช่น นามบัตร 2x3.5 = 2.25 x 3.75 ไฟล์กราฟฟิก) ในกรณีของซอง ทั้งภาพและตัวอักษรทั้งหมดต้องอยู่ห่างจากแต่ละขอบสุดท้ายของซอง และ ภาพต่างๆจะไม่สามารถมี bleed ออกนอกขอบได้ 

ครอปมาร์ก
โปรดแน่ใจว่าไฟล์ต่างๆของท่านนั้นถูกบันทึกไว้โดยไม่มีครอปมาร์กใดๆ เมื่อมาร์กเหล่านี้จะถูกพิจารณาว่าเป็นส่วนของอาร์ตเวิร์คและจบด้วยการที่ มันถูกพิมพ์ลงบนผลิตภัณฑ์ที่สำเร็จแล้ว 

ฟอนต์/ตัวอักษร
โปรดทำให้แน่ใจว่าท่านไม่ได้ใช้ขนาดฟอนต์ที่เล็กกว่า 7 point ถ้าหากทำงานอยู่กับซอฟท์แวร์ฐานเวกเตอร์ เช่น Illustrator, InDesign, หรือ Frehand ตัวอักษรทั้งหมดจะต้องถูกแปลงเป็น outlines ก่อนที่จะสร้างไฟล์ PDF ในท้ายที่สุด ถ้าหากทำงานอยู่กับ Photoshop ทำให้ภาพแบนราบ เมื่อกำลังใช้ MS Publisher ทำงานออกแบบและเลย์เอาท์ เป็นเรื่องสำคัญที่ต้องทำให้แน่ว่า รูปถ่าย, กราฟฟิก และ ฟอนต์ต่างๆ นั้นถูกฝังเข้าไปข้างในไฟล์ดังกล่าว สำหรับคำสอนเรื่องการฝังรูปถ่าย, กราฟฟิก และ ฟอนต์ต่างๆของท่าน โดยการใช้ MS Publisher ให้อ่านที่ embedding guide PDF 

ความละเอียด
เราขอแนะนำว่ารูปภาพทุกรูปจะต้องอย่างน้อย 300dpi การส่งไฟล์ต่างๆที่มีความละเอียดต่ำกว่า 300 dpi สามารถทำให้รูปภาพดูเป็นจุดๆและเบลอ 

เขตปลอดภัย
อย่าวางรูปภาพหรือตัวอักษรที่สำคัญเลยเขตปลอดภัย ซึ่งคืออย่างน้อย 1/8 นิ้วจากขนาดตัดเจียนแล้ว ทั้งนี้เพื่อหลีกเลี่ยงการที่มันจะถูกตัดออกไปเมื่อชิ้นงานที่เสร็จแล้วถูก ตัดเจียน 

ข้อบกพร่องทางการพิมพ์ / ไวยากรณ์
ควรแน่ใจว่าท่านได้อ่านพิสูจน์อาร์ตเวิร์คของท่านเพื่อให้ตัวสะกดและไวยากรณ์นั้นถูกต้อง 

ขอบเขต
ถ้าหากไฟล์กราฟฟิกของท่านมีขอบ ตัวขอบจะต้องอยู่ห่างจากขอบที่อยู่โดยรอบทั้งหมด 1/8 นิ้ว(0.125 นิ้ว)เป็นอย่างน้อย ถ้าหากท่านปล่อยให้มันห่างน้อยกว่า 1/8 นิ้ว(0.125 นิ้ว)แล้ว ผลิตภัณฑ์ที่เสร็จแล้วอาจเป็นผลให้ขอบเขตจากด้านบนไปยังด้านล่างและจากข้าง หนึ่งไปยังอีกข้างหนึ่งไม่เท่ากัน ทั้งนี้เป็นผลมาจากกระบวนการตัดในตอนสุดท้ายซึ่งอาจเกิดการเลื่อนไหลได้ วิธีที่ดีที่สุดคือ ให้ท่านสร้างขอบเขตที่อยู่ห่าง ¼ นิ้ว(0.25 นิ้ว)จากขอบที่อยู่โดยรอบทั้งหมด 

ทิศทาง
ด้านหน้าและด้านหลังของไฟล์กราฟฟิกของท่านจะต้องมีทิศทางเดียวกัน ถ้าหากด้านหน้าเป็นรูปแบบ portrait และด้านหลังอยู่ในรูปแบบ landscape จะต้องมีหน้าหนึ่งที่ต้องหมุนไป 90 องศา

เอกสารหลายหน้า(คำสั่งซื้อหนังสือเล่มเล็ก/แคตตาล็อก) 
เอกสารหลายหน้านั้นจะถูกใช้เมื่อมีการส่งไฟล์กราฟฟิกสำหรับคำสั่งซื้อ หนังสือเล่มเล็ก/แคตตาล็อก เท่านั้น เมื่อทำการส่งไฟล์กราฟฟิก หนังสือเล่มเล็ก/แคตตาล็อก หน้า 1 ของ PDF หลายหน้าจะต้องอยู่ด้านนอกของปกหน้า หน้า 2 จะต้องอยู่ด้านในปกด้านหน้า หน้าสุดท้ายของ PDF หลายหน้า จะต้องอยู่ด้านนอกของปกหลัง PDF หลายหน้าจะต้องมีการนับหน้าเป็นจำนวนคูณของสี่(4)ด้วยเหมือนกัน และ แต่ละหน้าต้องถูกสร้างให้มีขนาดตัดเจียนสุดท้ายรวม bleed ด้วย 

หากไม่แน่ใจว่าจะแก้ไขส่วนใดๆของข้อบกพร่องเหล่านี้ได้ ช่างออกแบบอาวุโสของเราสามารถทบทวนอาร์ตเวิร์คดังกล่าวและแก้ไขให้โดยไม่มี ค่าใช้จ่ายเพิ่มแต่อย่างใด โปรดโทรหาเราที่ 039-351678 หรือ 039-313144 หรือ อีเมล์มายังเรา 

ชนิดของไฟล์ที่ยอมรับ คือ

  • .PSD – Photoshop
  • .EPS – Illustrator
  • .INDD – InDesign
  • .CDR – CorelDraw 12
  • .FHD – Freehand
  • .PUB – Publisher
  • .PPT – PowerPoint
  • .PDF – Adobe Acrobat
  • .TIF – Tagged Image
  • .JPEG – Joint Photographic Experts Groip
  • .BMP – Bitmap

Free PDF Writer
ถ้าหากว่าท่านต้องการโปรแกรมซึ่งสร้าง PDFs ithaiprint.com หรือ tonchabub.co.th ขอแนะนำ CutePDF มันเป็นเครื่องมือให้ฟรีและทรงพลังที่สร้าง PDFs ได้ง่ายและรวดเร็ว ตรวจลงรายการ PDF รายการตรวจดูการเตรียมไฟล์ ของเรา เพื่อช่วยเหลือท่านในขณะที่ท่านเตรียมไฟล์ต่างๆของท่าน

วิธีแก้ปัญหาทั่วไป

รายการข้างล่างนี้เป็นข้อบกพร่องทั่วไปที่เราพบในไฟล์ดิจิตอลที่ส่งมาให้เราเพื่อ ทำการพิมพ์ โปรดระลึกไว้เสมอว่าถ้าหากงานของท่านมีข้อบกพร่องเหล่านี้ มันจะถูกพักเอาไว้ก่อนจนกระทั่งปัญหาถูกแก้ไขให้เรียบร้อยเสียก่อน ithaiprint.com และ tonchabub.co.th พยายามทุกวิถีทางที่จะติดต่อกับท่านและยังคงรักษาความพยายามนี้ไว้ต่อไป แต่วิธีที่ดีที่สุดที่ประกันความสำเร็จของงานที่ล่าช้ากับเราหรือกับโรง พิมพ์ออนไลน์อื่นใดก็คือการทำความเข้าใจปัญหาและวิธีแก้ปัญหาดังต่อไปนี้

การแก้ไขโหมดสี
โปรแกรมซอฟท์แวร์กราฟฟิกส่วนมาก ให้โอกาสลูกค้าเลือกที่จะทำงานกับโหมดสี RGB หรือ CMYK โหมดใดก็ได้
CMYK:  C=Cyan  M=Magenta  Y=Yellow  K=Black
RGB:  R=Red  G=Green B=Blue
สแกนเนอร์และกล้องดิจิตอลสร้างรูปภาพและหน้าจอคอมพิวเตอร์แสดงรูปภาพโดยใช้การประสานรวมกันของสีสามสี คือ RGB
เครื่องพิมพ์ออฟเซ็ทพิมพ์ภาพและรูปภาพสีธรรมชาติโดยการใช้ชุดสีที่แตกต่างออก ไป คือ CMYK ซึ่งสิ่งนี้ก็คือการพิมพ์แบบประมวลผล 4 สี หรือสีธรรมชาติ
ทุกไฟล์ที่ส่งมาสำหรับคำสั่งซื้อจะต้องถูกสร้างโดยใช้ CMYK เพื่อให้ได้สีที่ถูกต้องที่สุด ถ้าหากไฟล์ที่ถูกส่งมานั้นถูกสร้างโดยใช้ RGB เมื่ออัพโหลดไฟล์มาแล้ว ไฟล์เหล่านั้นจะถูกแปลงเป็น CMYK ก่อนทำการพิมพ์คำสั่งซื้อนั้นบนเครื่องพิมพ์ การแปลงนี้อาจทำให้สีในสิ่งพิมพ์ที่เสร็จแล้วเพี้ยนไปบ้างเล็กน้อย

ผิดขนาด
ไฟล์ดิจิตอลจะต้องถูกสร้างในขนาด bleed ที่ถูกต้อง ถ้าเป็นไปได้ โปรดดาวโหลดและใช้เทมเพลทแนะนำฟรี เพื่อให้ได้ขนาดหน้าที่ถูกต้อง

อาร์ตเวิร์คหรือตัวอักษรสำคัญที่อยู่ใกล้กับขอบตัดเจียน
ตัวอักษร หรือ รูปภาพต่างๆซึ่งไม่ต้องการให้ถูกเจียนออกจากชิ้นงานเมื่อเสร็จแล้วต้องอยู่ ห่าง 1/8 นิ้ว(0.125)จากขอบของเลย์เอาท์ของท่าน(ทั่วไปเรียกว่าบริเวณปลอดภัย)
รูปภาพที่อยู่ใกล้ขอบของการออกแบบมากๆต้องยืดเข้าไปในบริเวณ bleed ¼ นิ้ว(0.25)
เนื่องจากในเวลาตัดเจียนนั้นมีการเลื่อนบ้างเล็กน้อยปรากฏขึ้นมา จึงไม่ขอแนะนำให้ใช้ขอบเขตแดนน้อยกว่า ¼ นิ้ว(0.25) ithaiprint.com และ พิมพ์ด่วน.com ไม่สามารถรับประกันได้ว่าขอบเขตดังกล่าวจะเท่ากันทุกด้านหลังจากทำการตัด เจียนเสร็จแล้ว ถ้าหากท่านใช้ขอบเขตน้อยกว่า ¼ นิ้ว(0.25)

ภาพที่มีความละเอียดต่ำ
ทุกไฟล์ที่ส่งมาให้จะต้องมีความละเอียดไม่ต่ำกว่า 300 dpi(จุดต่อนิ้ว) รูปภาพที่มีความละเอียดน้อยกว่า 300 dpi จะนำผลิตซ้ำบนแท่นพิมพ์ได้ไม่ดี ภาพที่ได้จะดูไม่ชัดและ/หรือเห็นเป็นจุด
ถ้าหากภาพของท่านเอามาจากเว็บไซต์บนอินเตอร์เน็ต รูปภาพนั้นมีโอกาสที่จะมีความละเอียดไม่สูงพอสำหรับใช้ในการพิมพ์เป็นอย่าง มาก อินเตอร์เน็ตแสดงภาพที่ความละเอียด 72 dpi เพื่อให้ภาพปรากฏรวดเร็วในการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต แต่ภาพนั้นต้องไม่ถูกใช้สำหรับทำการพิมพ์
ถ้าหากว่าท่านส่งไฟล์ต่างๆที่มีความละเอียดต่ำมาให้เราเพื่อทำการพิมพ์ ท่านจะต้องเปลี่ยนมันเป็นภาพที่มีความละเอียดสูงในทันทีหรือไม่ก็จะถูกขอให้ เซ็นชื่อรับทราบออนไลน์ว่าท่านยอมรับผลที่ได้ซึ่งคุณภาพเสียไปและท่านจะยอม รับภาพที่ปรากฏขึ้นอย่างที่มันเป็นไป

ภาพและฟอนต์หายไป
ถ้าหากท่านใช้โปรแกรมจัดหน้าเช่น Publisher หรือ InDesign ท่านต้องจัดเตรียมทุกฟอนต์, แบบตัวพิมพ์ และภาพความละเอียดสูงที่ถูกใช้ในการจัดหน้ามาให้ด้วย ถ้าหากไม่มีมาให้ท่านจะต้องอัพโหลดฟอนต์, แบบตัวพิมพ์ และภาพความละเอียดสูงดังกล่าวมาให้เพื่อใช้ทำการสร้างปรู๊ฟสำหรับทำการตรวจ ดูและให้คำยืนยันต่อไป
ถ้าหากไฟล์ต่างๆของท่านมาจากเครื่อง Mac โปรดแน่ใจว่าท่านได้อัดฟอนต์, ชนิดตัวพิมพ์ และรูปภาพความละเอียดสูงที่ใช้มาในส่วนที่เหลือของไฟล์งานของท่านด้วย

ชนิดไฟล์ผิด
งานบริการพิมพ์ออนไลน์และกระบวนการผลิตของเรานั้น เรายอมรับชนิดไฟล์งานโดยเฉพาะอย่างเท่านั้น โปรดทบทวนดูชนิดไฟล์ที่เรายอมรับก่อนที่ทำการอัพโหลดไฟล์กราฟฟิกของท่าน

ไฟล์เสีย
ถ้าหากท่านไม่ได้ทำการบีบอัดไฟล์เอาไว้ ไฟล์ของท่านอาจไปถึงที่หมายเป็นไฟล์ดิจิตอลที่ไม่สมบูรณ์หรือเป็นไฟล์เสียได้

รายการตรวจดูการเตรียมไฟล์

โปรดทบทวนแต่ละเกณฑ์มาตรฐานพร้อมพิมพ์ดังต่อไปนี้ เพื่อให้งานพิมพ์ของท่านเป็นไปตามกำหนดการ

สี
เราต้องการให้ทุกไฟล์กราฟฟิกนั้นถูกสร้างขึ้นโดยใช้ CMYK เพื่อให้ได้สีที่เที่ยงตรงก่อนที่จะถูกอัพโหลด ไฟล์ต่างๆที่ถูกส่งใน RGB หรือโดยใช้สี PMS จะต้องถูกแปลงเป็น CMYK ซึ่งอาจทำให้สีเพี้ยนไปบ้างในผลิตภัณฑ์ที่ผลิตออกมา

ขนาดไฟล์
ไฟล์ของท่านจะต้องสร้างให้เท่าขนาดตัดเจียนบวกด้วย bleed(ส่วนที่ซึมออกไป) ซึ่งหมายถึงว่าไฟล์ต่างๆของท่านจะต้องมีขนาด ใหญ่กว่าขนาดของผลิตภัณฑ์ที่ท่านสั่งซื้อ 0.25 นิ้ว ( ตัวอย่างเช่น นามบัตร 2x3.5 = 2.25 x 3.75 ไฟล์กราฟฟิก) ในกรณีของซอง ทั้งภาพและตัวอักษรทั้งหมดต้องอยู่ห่างจากแต่ละขอบสุดท้ายของซอง และ ภาพต่างๆจะไม่สามารถมี bleed ออกนอกขอบได้

ครอปมาร์ก
โปรดแน่ใจว่าไฟล์ต่างๆของท่านนั้นถูกบันทึกไว้โดยไม่มีครอปมาร์กใดๆ เมื่อมาร์กเหล่านี้จะถูกพิจารณาว่าเป็นส่วนของอาร์ตเวิร์ค และจบด้วยการที่มันถูกพิมพ์ลงบนผลิตภัณฑ์ที่สำเร็จแล้ว

ฟอนต์/ตัวอักษร
โปรดทำให้แน่ใจว่าท่านไม่ได้ใช้ขนาดฟอนต์ที่เล็กกว่า 7pt ถ้าหากทำงานอยู่กับซอฟท์แวร์ฐานเวกเตอร์ เช่น Illustrator, InDesign, หรือ Freehand  ตัวอักษรทั้งหมดจะต้องถูกแปลงเป็น outlines ก่อนที่จะสร้างไฟล์ PDF ในท้ายที่สุด ถ้าหากทำงานอยู่กับ Photoshop ทำให้ภาพแบนราบ เมื่อกำลังใช้ MS Publisher ทำงานออกแบบและเลย์เอาท์ เป็นเรื่องสำคัญที่ต้องทำให้แน่ว่า รูปถ่าย, กราฟฟิก และ ฟอนต์ต่างๆ นั้นถูกฝังเข้าไปข้างในไฟล์ดังกล่าว สำหรับคำสอนเรื่องการฝังรูปถ่าย, กราฟฟิก และ ฟอนต์ต่างๆของท่าน โดยการใช้ MS Publisher ให้อ่านที่ embedding guide PDF
ความละเอียด
เราขอแนะนำว่ารูปภาพทุกรูปจะต้องอย่างน้อย 300dpi การส่งไฟล์ต่างๆที่มีความละเอียดต่ำกว่า 300 dpi สามารถทำให้รูปภาพดูเป็นจุดๆและเบลอ

เขตปลอดภัย
อย่าวางรูปภาพหรือตัวอักษรที่สำคัญเลยเขตปลอดภัย ซึ่งคืออย่างน้อย 1/8 นิ้วจากขนาดตัดเจียนแล้ว ทั้งนี้เพื่อหลีกเลี่ยงการที่มันจะถูกตัดออกไปเมื่อชิ้นงานที่เสร็จแล้วถูก ตัดเจียน

ข้อบกพร่องทางการพิมพ์ / ไวยากรณ์
ควรแน่ใจว่าท่านได้อ่านพิสูจน์อาร์ตเวิร์คของท่านเพื่อให้ตัวสะกดและไวยากรณ์นั้นถูกต้อง

ขอบเขต
ถ้าหากไฟล์กราฟฟิกของท่านมีขอบ ตัวขอบจะต้องอยู่ห่างจากขอบที่อยู่โดยรอบทั้งหมด 1/8 นิ้ว(0.125 นิ้ว)เป็นอย่างน้อย ถ้าหากท่านปล่อยให้มันห่างน้อยกว่า 1/8 นิ้ว(0.125 นิ้ว)แล้ว ผลิตภัณฑ์ที่เสร็จแล้วอาจเป็นผลให้ขอบเขตจากด้านบนไปยังด้านล่างและจากข้าง หนึ่งไปยังอีกข้างหนึ่งไม่เท่ากัน ทั้งนี้เป็นผลมาจากกระบวนการตัดในตอนสุดท้ายซึ่งอาจเกิดการเลื่อนไหลได้ วิธีที่ดีที่สุดคือ ให้ท่านสร้างขอบเขตที่อยู่ห่าง ¼ นิ้ว(0.25 นิ้ว)จากขอบที่อยู่โดยรอบทั้งหมด

ทิศทาง
ด้านหน้าและด้านหลังของไฟล์กราฟฟิกของท่านจะต้องมีทิศทางเดียวกัน ถ้าหากด้านหน้าเป็นรูปแบบ portrait และด้านหลังอยู่ในรูปแบบ landscape จะต้องมีหน้าหนึ่งที่ต้องหมุนไป 90 องศา

เอกสารหลายหน้า(คำสั่งซื้อหนังสือเล่มเล็ก/แคตตาล็อก)
เอกสารหลายหน้านั้นจะถูกใช้เมื่อมีการส่งไฟล์กราฟฟิกสำหรับคำสั่งซื้อ หนังสือเล่มเล็ก/แคตตาล็อก เท่านั้น เมื่อทำการส่งไฟล์กราฟฟิก หนังสือเล่มเล็ก/แคตตาล็อก หน้า 1 ของ PDF หลายหน้าจะต้องอยู่ด้านนอกของปกหน้า หน้า 2 จะต้องอยู่ด้านในปกด้านหน้า หน้าสุดท้ายของ PDF หลายหน้า จะต้องอยู่ด้านนอกของปกหลัง   PDF หลายหน้าจะต้องมีการนับหน้าเป็นจำนวนคูณของสี่(4)ด้วยเหมือนกัน และ แต่ละหน้าต้องถูกสร้างให้มีขนาดตัดเจียนสุดท้ายรวม bleed ด้วย

dpi และ ppi เหมือนกันหรือไม่

ใช่ dpi และ ppi นั้นเหมือนกัน อย่างไรก็ตามเมื่อเราได้รับไฟล์หนึ่งแล้ว เราจะเปิดไฟล์เพื่อสร้างปรู๊ฟและยืนยันค่า ppi/dpi

การอัพโหลดไฟล์ต่างๆนั้นจำกัดขนาดหรือไม่

ถ้า หากท่านใช้ FTP ของเรา ท่านสามารถอัพโหลดไฟล์ขนาดเท่าใดก็ได้ อย่างไรก็ตาม โปรดหมายเหตุไว้ด้วยว่ามันขึ้นอยู่กับว่าอินเตอร์เน็ตของท่านเชื่อมต่อได้ นานจนกว่าการอัพโหลดเสร็จสิ้นหรือไม่

ความละเอียดของภาพฉันถูกต้องหรือไม่

ภาพไฟล์กราฟฟิกที่ท่านอัพโหลดต้องมีความละเอียดอย่างน้อย 300 dpi(จำนวนจุดต่อนิ้ว) ภาพที่มีความละเอียดน้อยกว่า 300 dpi จะถูกผลิตใหม่ได้คุณภาพต่ำบนแท่นพิมพ์ออฟเซ็ท เพราะภาพจะพร่ามัว และ/หรือ เป็นหยักๆ
ถ้าหากท่านนำภาพมาจากเว็บไซต์บนอินเตอร์เน็ต มีความเป็นไปได้สูงที่ภาพดังกล่าวจะมีความละเอียดของภาพไม่สูงพอสำหรับใช้ใน การพิมพ์ เว้นแต่ภาพนั้นจะมาจากร้านขายรูปภาพและออกแบบให้มีความละเอียดสูง
อินเตอร์เน็ตแสดงภาพที่ความละเอียด 72 dpi เพื่อให้รูปภาพปรากฏได้รวดเร็วบนการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต แต่ไม่อยู่ในสภาพที่จะใช้สำหรับการพิมพ์ ถ้าหากท่านส่งไฟล์ที่มีความละเอียดต่ำเพื่อใช้พิมพ์ ไฟล์ดังกล่าวจะไม่ผ่านกระบวนคัดกรองของเรา ถ้าหากเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ ท่านสามารถเปลี่ยนภาพที่มีความละเอียดต่ำด้วยภาพที่มีความละเอียดสูงและ อัพโหลดไฟล์ที่แก้ไขแล้ว หรือท่านสามารถเซ็นยืนยันว่าท่านทราบแล้วว่าผลของมันจะเป็นการสูญเสีย คุณภาพและท่านตกลงให้พิมพ์ไฟล์ดังกล่าวตามอย่างที่มันเป็นได้

จะทำอย่างไรให้งานของฉันตรงกับสิ่งที่ฉันเห็นในจอภาพ

เป็นเรื่องยากที่จะทำให้งานพิมพ์ของท่านตรงกับที่ท่านเห็นในจอภาพ เพราะว่ามีความแตกต่างกันมากในการคำนวณของแต่ละจอภาพและมีความแตกต่างกันใน เทคโนโลยีที่ใช้ด้วย สีที่ถูกพิมพ์ออกมาบางสีไม่ตรงพอดีกับสีที่ปรากฏบนจอภาพของท่าน เราพยายามอย่างที่สุดจะให้สีงานของท่านออกมาดูดีที่สุด อย่างน้อยก็ใกล้เคียงกับค่าที่ปรากฏในไฟล์งานของท่านมากที่สุด เพราะเราใช้ระบบควบคุมการจ่ายน้ำหมึกเครื่องพิมพ์ตามไฟล์งานที่ใช้แยกสีทำ แม่พิมพ์โดยอัตโนมัติ และยังวัดความหนาแน่นของสีที่ถูกพิมพ์ออกมาจากเครื่องพิมพ์ และปรับแต่งให้เครื่องพิมพ์จ่ายหมึกพิมพ์จนได้ความหนาแน่นหมึกพิมพ์แต่ละสี อยู่ในมาตรฐานสูงสุด
 

ฉันควรถ่ายภาพด้วยกล้องดิจิตอลอย่างไร

กล้อง ดิจิตอลนั้นเป็นเครื่องมือที่น่าอัศจรรย์ที่ทำให้เราจับภาพของเราได้หลาย วิธีด้วยกัน กล้องถูกออกแบบมาให้ทำสามภาพด้วยกันคือ ภาพหนึ่งสีแดง, อีกภาพหนึ่งสีเขียว และอีกภาพหนึ่งเป็นสีน้ำเงิน(คล้ายคลึงกับการทำงานของโปรเจคชั่นทีวี) จากนั้นมันจะรวมภาพต่างๆเข้าด้วยกันและบันทึกรูปภาพลงบนการรูปภาพ เป็นเรื่องสำคัญมากที่จะต้องแน่ใจว่ากล้องได้ถูกตั้งไปที่คุณภาพสูงสุดเท่า ที่จะเป็นไปได้  สิ่งนี้หมายความว่า ท่านสามารถบันทึกภาพหนึ่งภาพลงบนการ์ดรูปภาพได้ แทนที่จะบันทึกได้ถึง 12, 64 หรือ 128 ภาพ ซึ่งนั่นเป็นสิ่งที่ดี เพราะท่านต้องการสร้างรูปภาพที่ดีที่สุดซึ่งกล้องสามารถทำได้ สิ่งนี้จะทำให้ไฟล์มีขนาดใหญ่และดาวโหลดได้ช้าจากตัวกล้องของมันเอง แต่มันจะได้ผลที่ดีที่สุดเท่าที่จะเป็นได้จากกล้องของท่าน โปรดจำไว้ว่า ภาพต่างๆจะต้องมีความละเอียด 300 dpi ในขนาดสุดท้ายที่อยู่บนเลย์เอาท์
บ่อยครั้งที่เราสังเกตเห็นว่ารูปภาพที่มาจากกล้องดิจิตอลนั้นพิมพ์ออกมาจาก เครื่องพิมพ์แล้วดำกว่าที่คาดเอาไว้ ตรวจเพื่อดูและทำการปรับแต่งเสียให้ตลอดทั้งชิ้นงานถ้าหากโปรแกรมแก้ไขภาพ ของท่านมีออฟชั่น brightness ถ้าหากท่านมีโอกาสเปลี่ยนสีจาก RGB(แดง, เขียว, น้ำเงิน) ไปเป็นสีทางการพิมพ์ ของ CMYK (cyan, magenta, yellow, black) ให้ทำเสีย ดีกว่าให้เราทำ โปรดจำไว้ว่าไม่ใช่ทุกสีที่ท่านมองเห็นซึ่งถูกสร้างจากแสงสว่าง(RGB)นั้น จะพิมพ์ออกมาได้ด้วยหมึกพิมพ์(CMYK)บนแท่นพิมพ์ ถ้าหากท่านไม่มีความสามารถในการแปลงบนซอฟท์แวร์ของท่าน ก็อย่าได้วิตกกังวล เราจะเปลี่ยนให้ท่านฟรี ท้ายที่สุดนี้ เราขอให้ท่านใช้การทำให้ภาพคมชัดขึ้น วิธีนี้จะทำให้รูปภาพสดขึ้นเล็กน้อยและพิมพ์ออกมาจากเครื่องพิมพ์ได้คุณภาพ ดีกว่า

ฉันจะบอกว่ารูปภาพจากกล้องดิจิตอลของฉันมีความละเอียดเท่าไรได้อย่างไร

กล้องดิจิตอลบางเครื่องจะบอกความละเอียดให้ท่านทราบด้วย ในขณะที่เครื่องอื่นจะบอกความกว้างของภาพของท่านเป็นพิกเซล
ถ้าหากท่านทราบความกว้างเป็นพิกเซลของภาพของท่านไม่ว่าจะทราบจากกล้องเอง หรือทราบผ่านทางซอฟท์แวร์แก้ไขภาพก็ตาม ท่านสามารถใช้วิธีคำนวณเล็กน้อยเพื่อระบุค่าความละเอียด, และขนาดที่สามารถพิมพ์ภาพได้สะอาดและสด
เพียงเขียนความกว้างเป็นพิกเซลของรูปภาพของท่านลงไปแล้วหารจำนวนดังกล่าว ด้วย 300 ถ้าหากรูปภาพนั้นไม่ได้รวมตัวอักษรไว้ด้วย และหารด้วย 400 ถ้าหากภาพนั้นรวมตัวอักษรไว้ด้วย ตัวอย่างเช่น ถ้าหากมีภาพหนึ่งซึ่งไม่มีตัวอักษรรวมอยู่ด้วยมีขนาดเป็นพิกเซล 600X 900 พิกเซล ครั้นเมื่อแต่ละด้านถูกหารด้วย 300 ผลที่ได้คือ 2 X 3 นิ้ว สิ่งนี้หมายถึงว่า ท่านสามารถใช้ภาพนี้ที่ขนาด 2 x 3 นิ้วหรือเล็กกว่าในเลย์เอาท์ของท่านเพื่อให้ได้ผลงานที่มีคุณภาพ
ถ้าหากซอฟท์แวร์แก้ไขภาพไม่ได้บอกขนาดเป็นพิกเซลแก่ท่าน แต่มันบอกเป็นความละเอียด ก็จะทำให้ท่านทราบขนาดใหญ่ที่สุดที่ท่านสามารถใช้ภาพนั้นในเลย์เอาท์ของ ท่านได้ เราขอแนะนำให้ใช้ภาพขนาดสุดท้ายมีความละเอียด 300 dpi ในเลย์เอ้าท์และ 400 dpi ถ้าหากภาพรวมอยู่กับตัวอักษร โปรดระลึกไว้เสมอว่าความละเอียดและขนาดของมันเป็นสัดส่วนโดยตรงแก่กันและกัน ถ้าหากท่านมีภาพขนาด 2X2 ที่ 300 dpi และทำการเพิ่มขนาดของมันลงในเลย์เอ้าท์เป็น 4 x 4 ความละเอียดในตอนนี้ก็จะเปลี่ยนเป็น 150dpi ดังนั้น จำไว้ว่า เมื่อท่านนำภาพหนึ่งเข้าไปอยู่ในเลย์เอาท์ของท่านนั้น ท่านสามารถหดขนาดลงได้(เพราะความละเอียดจะเพิ่มขึ้น)แต่ท่านก็มีข้อจำกัดว่า ท่านจะสามารถเพิ่มขนาดของมันได้เท่าใด

ฉันสามารถส่งเอกสารต่างๆที่สร้างใน MS Word หรือ PowerPoint ให้ได้หรือไม่

ท่านสามารถส่งงานที่สร้างขึ้นใน Word หรือ PowerPoint ที่มีรูปภาพ, คลิปอาร์ต หรือภาพสีอื่นๆ มาให้เราได้

ถ้าหากฉันทำการส่งไฟล์ Publisher จะให้ฉันบีบอัดมันด้วย “Pack and Go” หรือจะให้ฉันส่งมันเป็นไฟล์ *.pub ตามปกติ

เราสามารถทำงานกับทั้งสองชนิด แต่เราชอบปกติมากกว่า อย่าใช้คุณสมบัติ “Pack and Go” ของ Publisher  ถ้าหากท่านกำลังส่งไฟล์ Publisher ที่มีกราฟฟิกที่ถูกลิงค์(โดยทั่วไปไม่แนะนำใน Publisher) ได้โปรดรวมไฟล์ทั้งหมดเข้าไปไว้ใน Zipped file และส่งมันมาอย่างนั้น การบีบอัดไฟล์ด้วย Winzip หรือ PK Zip( หรือ Stuffit บนเครื่อง Mac) ก็เป็นวิธีที่นิยมสำหรับ Quark, Pagemaker, Illustrator, Indesign หรือไฟล์ใดๆที่มีกราฟฟิกที่ถูกลิงค์ไว้ ถ้าหากท่านกำลังใช้ฟอนต์ที่ไม่ได้รวมอยู่ใน Publisher ได้โปรดส่งมันมาพร้อมกันกับไฟล์ Publisher ของท่านด้วย ท่านสามารถเลือกทำการ Zip มันไว้ด้วยกัน หรืออัพโหลดฟอนต์เสมือนการอัพโหลดไฟล์เพิ่มเติม อย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้(หรือ รวมมันไว้ใน CD หรือ แผ่น zip ถ้าหากท่านส่งไฟล์ต่างผ่านมาทางไปรษณีย์)

ท่านจะแปลงไฟล์ RGB ของฉันเป็น ไฟล์ CMYK หรือไม่

ใช่เราทำการแปลงทุกไฟล์ที่ส่งมาทำการพิมพ์ให้เป็น CMYK โดยใช้ค่ามาตรฐานในการแปลงไฟล์ ซึ่งอาจจะมีผลต่อสีต่างๆในงานพิมพ์ที่เสร็จแล้ว ดังนั้น หากท่านต้องการควบคุมผลที่ปรากฏขึ้นแก่งานพิมพ์ของท่าน ท่านสามารถทำได้โดยท่านทำการแปลงทุกภาพจาก RGB ให้เป็น CMYK ก่อนที่จะทำการอัพโหลดมัน
วิธีดังกล่าวข้างบนนี้เป็นวิธีที่ดีที่สุดที่จะทำการเลือกสีใดก็ได้ให้กับ ฟอนต์หรือตัวงานออกแบบอื่นในเลย์เอาท์ของท่านโดยการใช้เงื่อนไขของ CMYK แทนที่จะใช้ของ RGB ซึ่งจะทำให้ท่านเห็นว่างานพิมพ์ของท่านจะออกมาเป็นเช่นไรเมื่อพิมพ์เสร็จ

ท่านต้องการค่าสีสำหรับสีดำมากหรือไม่

เราแนะนำให้ใช้ C = 30; M = 30; Y = 30; K = 100 เพื่อจะได้สีดำมากที่สุด วิธีนี้ได้พิสูจน์แล้วว่าได้ผลผลิตออกมาดีที่สุด

ท่านพิมพ์สีให้ตรงกับตัวอย่างที่ฉันพิมพ์ออกมาจากเครื่องพิมพ์ของฉัน หรือ ตัวอย่างงานพิมพ์ที่พิมพ์ก่อนหน้านี้ได้หรือไม่

โดย ปกติแล้วเราจัดการงานพิมพ์ให้เสร็จในเวลารวดเร็วและราคาต่ำมากโดยพิมพ์งาน ให้มีมาตรฐานสีใกล้เคียงไฟล์งานออกแบบของท่านมากที่สุดโดยใช้น้ำหมึกที่มี ความหนาแน่นมาตรฐาน เพราะฉะนั้นเราจึงไม่ได้รับประกันว่างานพิมพ์ที่เสร็จแล้วจะเป็นประมาณ ตัวอย่างงานพิมพ์ของท่าน เพราะเหตุว่าผลที่ได้จากการพิมพ์จากอุปกรณ์ผลิตงานที่ต่างกันรวมทั้งเครื่อง พิมพ์อิ้งเจ็ทและเครื่องพิมพ์เลเซอร์, อุปกรณ์ปรู๊ฟโทนต่อเนื่อง, ปรู๊ฟฟิล์มที่มีความละเอียดสูง นั้นแตกต่างกันกับการพิมพ์ออฟเซ็ทมาก แม้กระทั่งจากโรงพิมพ์หนึ่งกับอีกโรงพิมพ์หนึ่งก็ยังสามารถได้ผลงานที่ต่าง กันอย่างเห็นได้ชัดได้ โดยเฉพาะงานพิมพ์อิงค์เจ็ทและงานพิมพ์เลเซอร์ ก็ดูแตกต่างจากการพิมพ์ออฟเซ็ทอย่างเห็นได้ชัดเจน
ถ้าหากท่านต้องการให้สีตรงอย่างแม่นยำ โปรดติดต่อเราให้จัดเตรียมปรู๊ฟสีแบบดิจิตอลให้ เมื่อท่านชำระค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม( 400 บาท) เราจะผลิตและส่งปรู๊ฟสีแบบดิจิตอลให้ท่านทาง ไปรษณีย์ EMS เมื่อท่านยืนยันและส่งปรู๊ฟดังกล่าวกลับมา เราจะพยายามพิมพ์งานของท่านให้มีสีตรงกับปรู๊ฟอย่างที่สุด
สำหรับบริการพิมพ์สีให้ตรงอย่างแม่นยำนั้นมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมพอสมควร เช่นเดียวกัน ถ้าหากท่านขอให้มีการแก้ไขสีหรือมีการเปลี่ยนแปลงอย่างอื่นหลังจากท่านดู ปรู๊ฟแล้ว มันจะมีค่าใช้จ่ายในการแก้ไขสีและผลิตปรู๊ฟแผ่นใหม่เพิ่มเติมอีกอย่างน้อย 400 บาท
ขอเน้นว่า งานพิมพ์เมื่อเราพิมพ์ให้ท่านเสร็จแล้วนั้น จะดูไม่ตรงกับที่ท่านผลิตได้จากเครื่องพิมพ์อิงค์เจ็ทของท่าน แต่มันจะดูเป็นมืออาชีพกว่า

ท่านมีโครงร่างซึ่งท่านใช้เพื่อทำการแปลงไฟล์ RGB หรือรูปภาพต่างๆหรือไม่

ถ้าหากในโปรแกรมกราฟฟิกของท่านมี ให้ตั้งพื้นที่ทำงาน RGB ไปที่ sRGB IEC1966-2.1 และ CMYK ไปที่ US Sheetfed Coated V2

ท่านยอมรับเครื่องบันทึกข้อมูลชนิดใดบ้าง

เราสามารถรับสื่อบันทึกไฟล์ของท่านที่อยู่ใน CD; DVD หรือ Flash drive ได้

ท่านรับไฟล์ชนิดใดบ้าง

ลูกค้า ของ ithaiprint.com หรือ tonchabub.co.th สามารถอัพโหลดไฟล์ต่างๆโดยใช้ FTP เฉพาะของเรา และสามารถดาวโหลดแบบปรู๊ฟจากเซิฟเวอร์ของเราได้ด้วยวิธีง่ายๆไม่กี่ขั้นตอน
เมื่อท่านส่งไฟล์ที่พร้อมสำหรับทำการพิมพ์ของท่านเรียบร้อยแล้ว เรายอมรับไฟล์ native จากโปรกแกรมดังต่อไปนี้ คือ
•    Adobe Illustrator (.ai)
•    Adobe Photoshop (.psd)
•    Adobe InDesign (.indd)
•    Corel Draw (.cdr)
•    Freehand (.fhd)
•    Microsoft Word (.doc)
•    Microsoft Publisher (.pub)
•    Microsoft PowerPoint (.ppt)
เรายอมรับรูปแบบไฟล์ดังต่อไปนี้ด้วย : .pdf ; .jpeg ; .eps ; .tif ; และ .bmp

ท่านสามารถทำการแก้ไขงานของฉันได้ไหมหลังจากที่ฉันส่งไฟล์ต่างๆให้แล้ว

เจ้า หน้าที่ตรวจสอบคุณภาพไม่สามารถแก้ไขไฟล์ต่างๆที่ส่งมาเพื่อพิมพ์ได้ หลังจากท่านได้รับปรู๊ฟทางอีเมล์ของท่านแล้ว และ ท่านต้องการที่จะส่งไฟล์ใหม่ให้ ท่านสามารถทำได้โดยล็อกอินเข้าไปยัง My Account ของท่านและทำการอัพโหลดไฟล์สำหรับพิมพ์ไฟล์ใหม่
ถ้าหากท่านใช้  ระบบ FTP ของเราเพื่อทำการส่งไฟล์ของท่าน ท่านสามารถทำการอัพโหลดใหม่กี่ครั้งก็ได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด จนกระทั่งท่านยืนยันปรู๊ฟของท่านเสร็จ

สิ่งที่ท่านต้องการเกี่ยวกับฟอนต์และชนิดตัวพิมพ์ในไฟล์กราฟฟิกคืออะไร

ความ สมบูรณ์ของฟอนต์และชนิดตัวพิมพ์นั้นสามารถเป็นเรื่องราวได้ถ้าหากมีการถ่าย โอนไฟล์จากคอมพิวเตอร์หนึ่งไปยังอีกคอมพิวเตอร์หนึ่งหรือไปยังโรงพิมพ์หนึ่ง เพื่อทำการผลิต เรามีอยู่มากถึง 1,000 ฟอนต์ อย่างไรก็ตาม เพื่อความปลอดภัยแล้วท่านสามารถรวมพวกมันไปพร้อมกับเอกสารต้นฉบับ
เมื่อทำการตรวจดูปรู๊ฟของท่าน มันเป็นความรับผิดชอบของลูกค้าที่ต้องแน่ใจว่าฟอนต์ไม่ได้ถูกแทนที่หรือถูก เปลี่ยนไปเนื่องจากผลจากของการถ่ายโอนไฟล์
ในโปรแกรมวาดภาพเวกเตอร์ เช่น Illustrator ; Freehand ; หรือ CorelDraw ท่านต้องแปลงทุกฟอนต์ไปเป็น outlines หรือ  curves ก่อนที่ท่านจะส่งไฟล์พร้อมพิมพ์สุดท้ายให้กับเรา
โปรดระลึกไว้เสมอว่าตัวหนังสือสีที่มีขนาดเล็กจะพิมพ์ได้ไม่ดี เพราะว่าเราพิมพ์โดยใช้กระบวนการพิมพ์สี่สี จะเป็นการดีที่สุดที่จะใช้ตัวพิมพ์มีขนาดเล็กสุดที่ 12 pt.  ระลึกไว้ด้วยว่าคนส่วนใหญ่ไม่สามารถอ่านตัวพิมพ์ที่มีขนาดเล็กกว่า 6-pt. ไม่ว่ามันจะสีอะไร

อะไรคือความแตกต่างระหว่างพื้นที่สี RGB และ CMYK และมันมีความสำคัญอย่างไร

RGB นั้นเป็นสีปฐมภูมิของแสงสว่าง สีแดง, สีเขียว และ สีน้ำเงิน ซึ่งถูกใช้ในจอภาพ, จอภาพทีวี, กล้องดิจิตอล และ สแกนเนอร์ ส่วน CMYK นั้นอ้างอิงถึงสีปฐมภูมิของเนื้อสี Cyan; Magenta; Yellow และ Black ซึ่งสิ่งเหล่านี้คือน้ำหมึกที่ถูกใช้บนเครื่องพิมพ์ในการพิมพ์สี่สี โดยทั่วไปมักเรียกว่าการพิมพ์สีธรรมชาติ
การรวมกันของแสงสว่าง RGB จะเกิดเป็นสีขาว ในขณะที่การรวมกันของน้ำหมึก CMYK เกิดเป็นสีดำ ฉะนั้น โดยทางกายภาพแล้วจึงเป็นไปไม่ได้ที่เครื่องพิมพ์จะผลิตสีต่างๆได้ตรงกับที่ เรามองเห็นจากจอภาพของเรา
หลายโปรแกรมมีความสามารถในการแปลง เลย์เอาท์/รูปภาพ จาก สี RGB ไปเป็นสี CMYK ถ้าหากเครื่องมือของท่านอนุญาตให้ท่านทำการแปลงได้เราขอแนะนำให้ท่านแปลงสี ของท่านจาก RGB เป็น CMYK เพราะจะทำให้ท่านควบคุมผลที่ได้ออกมาได้มากที่สุด ท่านอาจสังเกตเห็นความเปลี่ยนไปของสีเมื่อทำการแปลงจาก RGB ไปเป็น CMYK ถ้าหากท่านไม่ชอบสิ่งที่ปรากฏใน CMYKแล้วละก็ เราขอแนะนำให้ท่านทำการปรับแต่งในขณะที่กำลังทำงานอยู่ใน CMYK(ปกติจะสว่างกว่า) โดยทั่วไป ท่านจะต้องกำหนดให้มีการสร้างสี CMYKดูสว่างกว่าที่ท่านต้องการสักเล็กน้อย เพราะจุดของน้ำหมึกที่ปรากฏบนแท่นพิมพ์จะอ้วนขึ้น ทำให้ท่านมีเนื้อสีบนกระดาษมากกว่าที่ท่านมองเห็นบนจอภาพของท่าน ขอให้ท่านระวังเป็นพิเศษในการทำให้แบกกราวด์สว่างไว้ถ้าหากมีตัวอักษรสีเข้ม หรือสีดำอยู่บนนั้น ซึ่งทำให้ตัวอักษรยังคงอ่านได้

โหมดสี RGB และโหมดสี CMYK คืออะไร

โปรแกรม ซอฟท์แวร์กราฟฟิกโดยทั่วไปให้ท่านเลือกทำงานในโหมดสี RGB หรือ CMYK อย่างใดอย่างหนึ่งได้ สแกนเนอร์และกล้องดิจิตอลนั้นสร้างรูปภาพและจอภาพแสดงรูปภาพโดยใช้การร่วม กันของสีเพียงแค่สามสีเท่านั้น คือ สีแดง , สีเขียว และ สีน้ำเงิน(RGB) สีเหล่านี้เป็นสีปฐมภูมิของแสงสว่าง ซึ่งจอภาพคอมพิวเตอร์ใช้แสดงรูปภาพบนหน้าจอ
เครื่องพิมพ์ออฟเซ็ทพิมพ์ภาพและรูปภาพต่างๆสีเต็มโดยใช้ชุดของสีที่แตกต่าง ออกไปชุดหนึ่ง คือ Cyan(สีน้ำเงิน); Magenta(สีแดง); สีเหลือง ; และ สีดำ (CMYK)  สิ่งนี้เรียกว่า การพิมพ์“ 4-color process” หรือ “full – color” ซึ่งประกอบเป็นส่วนใหญ่ของวารสารและวัสดุทางการตลาดที่ท่านพบเห็นทุกวัน
ถ้าหากว่าท่านไม่ได้สร้างเลย์เอาท์หรือดีไซน์ดิจิตอลของท่านโดยใช้ค่าสี CMYK ไฟล์ RGB ของท่านจะถูกแปลงไปเป็น CMYK ในระหว่างกระบวนการปรู๊ฟ เพื่อที่จะพิมพ์มันลงบนเครื่องพิมพ์ การแปลงไฟล์เช่นนี้จะเป็นเหตุให้สีในสิ่งพิมพ์ที่เสร็จแล้วเปลี่ยนไปบ้าง