• 039 312 654
  • 086 302 3383, 095 956 3287
  • tonchabubprint@hotmail.com, tonchabubprint@yahoo.com
  • โรงพิมพ์ ต้นฉบับ บริการงานพิมพ์ทุกชนิด ด้วยระบบออฟเซ็ท 4 สี
    Line Tonchabub
    ISO

แม่พิมพ์ปั๊มนูนที่ใช้ในโรงพิมพ์ เขาทำกันอย่างไร?

การใช้เครื่องมือและการแกะสลัก

ค่าใช้จ่ายในการผลิตแม่พิมพ์ดันนูนสามารถสูงขึ้นได้ โดยเฉพาะเมื่อทำการกัด(Etching)และแกะสลัก(Engraving)แม่พิมพ์ทองเหลืองทั้งตัวผู้และตัวเมียแบบโรตารี่เต็มรูปแบบ

ในอุตสาหกรรมฉลากสินค้าและบรรจุภัณฑ์นั้น มีการใช้แม่พิมพ์ปั๊มนูนแตกต่างกันอยู่ถึง 5 ชนิดด้วยกัน

1.แม่พิมพ์ปั๊มนูนพื้นราบ หรือ FLATBED EMBOSSING DIES

แม่พิมพ์โลหะที่ถูกใช้ในการปั๊มนูนพื้นราบไม่ซับซ้อนเหมือนแม่พิมพ์ที่ถูกใช้ในระบบโรตารี่เต็มรูปแบบ แม่พิมพ์พื้นราบไม่มีเนื้อที่โค้งและสามารถกัดด้วยสารเคมีหรือแกะสลักในแนวราบได้ ครั้นเมื่อรูปภาพได้ถูกแกะสลักหรือถูกกัดด้วยสารเคมี(etching)แล้ว แม่พิมพ์ก็พร้อมถูกนำไปใส่ในเครื่องพิมพ์เลย

ลักษณะเฉพาะของแต่ละวัตถุแม่พิมพ์ปั๊มนูนพื้นราบมีดังต่อไปนี้ คือ

- แม่พิมพ์ปั๊มนูนแมกนีเซี่ยมแบบพื้นราบ(Flatbed magnesium embossing dies)
แมกนีเซี่ยมเป็นวัตถุที่อ่อนนุ่มที่สุดที่ถูกใช้สำหรับทำแม่พิมพ์โลหะและแพงน้อยที่สุดด้วย แม่พิมพ์ชนิดนี้เหมาะสมที่สุดสำหรับใช้กับแบบพื้นราบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อต้องการใช้งานจำนวนน้อยกับรูปภาพ”เดี่ยว”ภาพเดียว
                การสร้างรูปภาพของแผ่นแมกนีเซี่ยมทำได้โดยใช้กระบวนการกัดด้วยสารเคมี(etchimg) มีการทาสารไวแสงเคลือบบนแผ่นแมกนีเซี่ยมที่จะถูกสร้างภาพ นำฟิล์มเนกาทีฟของรูปภาพที่จะถูกผลิตวางลงให้สัมผัสกับผิวหน้าแผ่นแมกนีเซี่ยมและนำไปฉายแสงสว่างก่อนที่จะนำไปพัฒนาภาพด้วยน้ำยาเพื่อสร้างรูปภาพขึ้นมา จากนั้นแผ่นแมกนีเซี่ยมก็จะถูกกัดด้วยสารเคมีเพื่อเอาพื้นที่ซึ่งไม่มีรูปภาพอยู่ออกไป เหลือแต่พื้นที่”รูปภาพ”ที่นูนอยู่

- แม่พิมพ์เหล็กกล้าหรือทองเหลืองแบบพื้นราบ(Flatbed brass or steel dies)
ไม่เหมือนกับแม่พิมพ์ปั๊มนูนแมกนีเซี่ยมซึ่งถูกกัดด้วยสารเคมี เพราะแม่พิมพ์ปั๊มนูนเหล็กกล้าและทองเหลืองแบบพื้นราบถูกสร้างรูปภาพโดยใช้เครื่อง CNC ขับเคลื่อนระบบการแกะสลักแบบดิจิตอล วิธีเดียวกันนี้ใช้กับการสร้างรูปภาพของแม่พิมพ์โรตารี่ที่ทำจากทองเหลืองหรือเหล็กกล้าด้วย
                แม่พิมพ์ปั๊มนูนแบบพื้นราบถูกแกะสลักในพื้นราบและหัวแกะสลักเดินเหนือแม่พิมพ์โดยการเคลื่อนที่ผ่านแกน X และ แกน Y  และ ยกขึ้นและตกลงตามคำสั่งข้อมูลดิจิตอล วิธีแกะสลักนี้จะสร้างรูปภาพที่มีความละเอียดและละเอียดมาก

- แม่พิมพ์ทองแดงแบบพื้นราบ(Flatbed copper dies)
แม่พิมพ์ปั๊มนูนทองแดงถูกสร้างรูปภาพขึ้นโดยใช้กระบวนการกัดด้วยสารเคมีคล้ายคลึงกับการกัดด้วยสารเคมีแม่พิมพ์แมกนีเซี่ยม ตามความจริงที่ว่าแม่พิมพ์ปั๊มนูนทองแดงนั้นแข็งกว่าแมกนีเซี่ยม มันจึงเหมาะสำหรับใช้กับการผลิตที่ยาวนานกว่า
                แม่พิมพ์ทองแดงนั้นเหมาะกับงานที่มีหลายรูปภาพและมีลักษณะเฉพาะตัวในการกัดรูปภาพที่ดีกว่า ทำให้ได้ผลการปั๊มนูนที่ดีเยี่ยม

2. แม่พิมพ์ปั๊มนูนแบบโรตารี่ หรือ ROTARY EMBOSSING DIES

แม่พิมพ์เหล็กกล้าหรือทองเหลืองแบบโรตารี่(rotary brass or steel dies)
การผลิตแม่พิมพ์ปั๊มนูนแบบโรตารี่ต้องการความสามารถทางวิศวกรรมมากกว่าแม่พิมพ์ปั๊มนูนแบบพื้นราบกระบวนการผลิตเริ่มต้นด้วยความยาวของทองเหลืองซึ่งถูกเครื่องจักรทำเป็นเส้นผ่าศูนย์กลางด้านนอกของความยาวงานพิมพ์ที่ต้องการสำหรับงานที่ถูกพิมพ์และถูกปั๊มนูนขึ้นมา(ดูภาพ 1)
กระบอกรูปภาพปั๊มนูน

ภาพ 1 – คู่ของกระบอกรูปภาพปั๊มนูน – โพสิทีฟและเนกาทีฟ

จากนั้นตอนปลายของกระบอกถูกเครื่องจักรสร้างเป็นปลสยสุดของชุดประกอบ ขนาดของมันขึ้นอยู่กับชนิดของเครื่องพิมพ์และรายละเอียดคุณสมบัติของหน่วยปั้มนูนที่ถูกใช้
                รูปภาพที่ถูกปั๊มนูน(ทั้งตัวผู้และตัวเมีย)ถูกสร้างภาพโดยใช้หลักการเหมือนกันกับการแกะสลักพื้นราบ แต่หัวแกะสลักเคลื่อนที่เฉพาะบนแกน X เท่านั้น แทนที่หัวแกะสลักจะวิ่งตัดขวางบนแกน X และ แกน Y
                แม่พิมพ์โรตารี่หมุนเดินหน้าและถอยหลังบนแกน Y โดยมีหัวแกะสลักขึ้นและลงดังที่ต้องการ ระบบการแกะสลักที่ซับซ้อนนี้ถูกขับเคลื่อนโดยไฟล์ดิจิตอลซึ่งมีรูปภาพที่จะถูกแกะสลักอยู่

                
แม่พิมพ์ฟอยล์แบนราบ

ภาพ 2 รูปภาพโพสิทีฟและเนกาทีฟที่ถ่ายใกล้ๆ

แม่พิมพ์ปั๊มนูนแบบโรตารี่ที่ถูกทำเป็นปลอกสวม
อีกตัวเลือกหนึ่งของการปั๊มนูนแบบโรตารี่นั้นรวมถึงสิ่งที่เรารู้จักกันว่าระบบปลอกสวม
                ระบบนี้สร้างปลอกสวมอันหนึ่งขึ้นมา ซึ่งเลื่อนอยู่เหนือกระบอกฐานที่สามารถนำมาใช้ใหม่ได้ เป็นเหตุให้ปริมาณโลหะที่ต้องการใช้ในการสร้างแม่พิมพ์ปั๊มนูนลดลง ปลอกดังกล่าวนี้ถูกผลิตตามความกว้างของบริเวณรูปภาพที่ต้องการ
                เมื่อปลอกได้ถูกเลื่อนลงบนกระบอกฐานแล้ว มันสามารถถูกวางตำแหน่งได้ทั้งด้านข้างและตามเส้นรอบวงเพื่อให้ได้ตำแหน่งรีจิสสเตชั่นที่ถูกต้อง

3. การร่วมกันของฟอยล์และการดันนูน หรือ COMBINATION FOIL-EMBOSSING

กระบวนการปั๊มนูนสามารถถูกร่วมกันกับการปั๊มร้อนฟอยล์ได้ด้วยเหมือนกัน และ สิ่งนี้ถูกเรียกว่า combination foil/embossing กระบวนการนี้รวมการปั๊มนูนและการพิมพ์ฟอยล์ไว้ในปฏิบัติการเดียวโดยใช้แม่พิมพ์ทองเหลืองร่วมกันแม่พิมพ์เดียว แม่พิมพ์จะมีพื้นที่การตัดที่คมอยู่โดยรอบขอบของมันเพื่อรับประกันว่าแถบวัสดุฟอยล์ตึงเสมอกันบนแต่ละรอบการปั๊มนูน
    การร่วมกันของการพิมพ์ฟอยล์และการปั๊มนูนยังคงถูกใช้กันในการตกแต่งฉลากสินค้า แต่มีการใช้อย่างกว้างขวางในการผลิต”ผนึก” สำหรับทั้งแบบที่มีกาวและไม่มีกาว
    ผนึกนี้ทำให้มีวิธีที่เป็นเอกลักษณ์และดีเยี่ยมในการตกแต่งสินค้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งบนวัสดุชิ้นงานที่ถูกทำให้เป็นผิวโลหะซึ่งมีน้ำหนักมาก

4. การร่วมกันของการพิมพ์และการดันนูน หรือ COMBINATION PRINTING AND EMBOSSING

การปั๊มแม่พิมพ์เป็นวิธีการหนึ่งของการพิมพ์และการดันนูนรูปภาพโดยใช้แม่พิมพ์ที่ถูกแกะสลักอันเดียวกัน แม่พิมพ์ถูกผลิตด้วยเหล็กกล้าหรือทองแดง แม่พิมพ์ตัวผู้และแม่พิมพ์ตัวเมียแบบแบนราบถูกใส่ด้วยวิธีเดียวกันกับแม่พิมพ์ปั๊มนูนปกติและถูกวางในเครื่องปั๊มแม่พิมพ์ เครื่องพิมพ์นี้โดยปกติแล้วมีระบบลูกกลิ้งน้ำหมึกเลตเตอร์เพรสลูกหนึ่ง ซึ่งจะตกตะตอนฟิล์มน้ำหมึกหนึ่งลงบนผิวหน้าของแม่พิมพ์ตัวเมีย วัสดุชิ้นงานที่จะถูกแม่พิมพ์ปั๊มถูกวางตำแหน่งอยู่ระหว่างแม่พิมพ์ทั้งสองซึ่งจากนั้นถูกกดเข้าหากันภายใต้แรงดันสูงสุดทำให้เกิดภาพที่ถูกพิมพ์และถูกดันนูนยกขึ้นมาภาพหนึ่ง

5. ปั๊มนูนฮอโลแกรฟฟิค หรือ HOLOGRAPHIC EMBOSSING

การปั๊มนูนฮอโลแกรฟฟิคถูกใช้กันอย่างกว้างขวางสำหรับการผลิตภาพฮอโลแกรมเป็นจำนวนมากๆ
    กระบวนการดังกล่าวผลิตลวดลายฮอโลแกรฟฟิคที่มีความละเอียดมากลงบนวัสดุชิ้นงานโพลิเมอร์ซึ่งจัดให้มีการสะท้อนเป็นผิวโลหะและมีความสว่างไสวของฮอโลแกรม
    กระบวนการสำหรับการผลิตฮอโลแกรมที่ถูกปั๊มนูนรวมถึงการผ่านวัสดุชิ้นงานโพลิเมอร์สะท้อนแสงไประหว่างแม่พิมพ์ลูกกลิ้งกดแม่พิมพ์ลงบนที่ซึ่งแผ่นชิมนิคเกิ้ลฮอโลแกรฟฟิคถูกยึดอยู่ ลูกกลิ้งกดสัมผัสกับแผ่นชิมและด้วยอุณหภูมิและความดันสูงทำให้รูปภาพถูกถ่ายโอนลงบนผิวหน้าของโพลิเมอร์และนั่นคือการผลิตรูปภาพฮอโลแกรฟฟิค 
    ตามที่กล่าวข้างบนนี้ จะเห็นได้ว่าแม่พิมพ์ปั๊มนูนแต่ละชนิดนั้นใช้กับเครื่องพิมพ์ต่างชนิดกัน การที่โรงพิมพ์หนึ่งจะมีเครื่องพิมพ์ครบทุกชนิดคงเป็นไปได้ยาก การที่ท่านได้ทราบว่ามีแม่พิมพ์กี่ชนิด ชนิดใดมีคุณภาพ ค่าใช้จ่ายสูงต่ำเช่นไร และ เหมาะสำหรับงานลักษณะใด ก็ทำให้ท่านสามารถแยกแยะได้ว่างานของท่านนั้นเหมาะกับการพิมพ์ด้วยเครื่องพิมพ์ชนิดใด